ภาคตะวันตกของประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 53,679 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ 1.ตาก 2.กาญจนบุรี 3.ราชบุรี 4.เพชรบุรี 5.ประจวบคีรีขันธ์
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง ได้แก่ เมือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวภูเขาที่ซับซ้อน มีที่ราบแคบๆ ในเขตหุบเขาเป็นแห่งๆและมีที่ราบเชิงเขาต่อเนื่องกับที่ราบภาคกลางเทือกเขาเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดของ แม่น้ำแควน้อย (แม่น้ำไทรโยค)และแม่น้ำแควใหญ่(ศรีสวัสดิ์) ซึ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นแม่น้ำแม่กลอง
ระหว่างแนวเขามีช่องทางติดต่อกับพม่าได้ ที่สำคัญคือ ด่านแม่ละเมาในจังหวัดตาก และด่านพระเจดีย์สามองค์ ในจังหวัดกาญจนบุรี
ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคตะวันตก
ที่ตั้งและขอบเขตของภาค
ทิศเหนือ มีดินแดนเหนือสุดของภาคอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก มีดินแดนติดต่อกับสุพรรณบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม อ่าวไทย
ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคืออำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันตก มีดินแดนติดกับประเทศพม่า มีเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคอยู่ที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันตก
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับหุบเขาที่ค่อนข้างชันและแคบกว่าหุบเขาของภาคเหนือ เนื่องจากการกัดเซาะของแม่น้ำลำธาร มีภูมิประเทศคล้ายภาคเหนือ แบ่งได้ดังนี้
1. เขตเทือกเขา ได้แก่
- เทือกเขาถนนธงชัย เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงตาก
- เทือกเขาตะนาวศรี เป็นแนวแบ่งเขตไทยกับพม่า มีช่องทางติดต่อที่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด่านบ้องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี
- เทือกเขาหินปูน อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำหินงอกหินย้อย
2. เขตที่ราบ อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบต่ำภาคกลางจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำแม่กลอง ที่ราบแม่น้ำเพชรบุรี และที่ราบชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายสวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหังหินและอ่าวมะนาว
แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันตก
- แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม
- แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์ มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย
- แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่
- แม่น้ำเมย เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทย-พม่า ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศพม่า ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ที่แม่ฮ่องสอน
- แม่น้ำเพชรบุรี เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี
- แม่น้ำปราณบุรี ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิภาคตะวันตก
1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น
2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน
3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี
4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง
ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันตก
1. ทรัพยากรดิน
ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด
2. ทรัพยากรน้ำ
ภาคตะวันตกมีน้ำน้อย เพราะอยู่ในเขตอับฝน แม่น้ำเป็นสายสั้น ๆ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก , เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี
3. ทรัพยากรป่าไม้
ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
ภาคตะวันตกมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต หินอ่อน แร่รัตนชาติมีพลอย ไพลินที่กาญจนบุรี หินน้ำมัน อยู่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ประชากรในภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกเป็นภาคที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด และเบาบางที่สุด มีชนกลุ่มน้อยพวกมอญ กะเหรี่ยง พม่าอาศัยอยู่ทุกพื้นที่เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นมากที่สุดคือ ราชบุรี ส่วนจังหวัดที่มีประชากรต่ำที่สุดและมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือ จังหวัดตาก
ปัญหาประชากรในภาคตะวันตก
1. ปัญหาเกี่ยวกับความยากจนของประชาชน
2. ปัญหาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยขาดแคลนที่อยู่อาศัยและขาดพื้นที่การเพาะปลูก
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
1. การเพาะปลูก การปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย สับปะรด มันสำปะหลัง ปลูกมากที่จังหวัดกาญจนบุรี
2. การเลี้ยงสัตว์ เป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นการค้าและอาหาร
3. การทำป่าไม้ เคยมีป่าไม้มาก ปัจจุบันทำการค้าโดยสั่งซื้อจากประเทศพม่า
4. การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มและน้ำกร่อย
5. การทำเหมืองแร่ ได้แก่ แร่ดีบุก วุลแฟรม ทังสเตน
6. อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง ผลิตน้ำตาล การปั้นโอ่งที่ราชบุรี และการท่อง เที่ยว
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
1. ปัญหาการพังทลายของดิน และดินเสื่อมคุณภาพ
2. ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และน้ำเน่าเสียในแม่น้ำแม่กลอง
3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำการค้า และธุรกิจ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง ได้แก่ เมือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวภูเขาที่ซับซ้อน มีที่ราบแคบๆ ในเขตหุบเขาเป็นแห่งๆและมีที่ราบเชิงเขาต่อเนื่องกับที่ราบภาคกลางเทือกเขาเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดของ แม่น้ำแควน้อย (แม่น้ำไทรโยค)และแม่น้ำแควใหญ่(ศรีสวัสดิ์) ซึ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นแม่น้ำแม่กลอง
ระหว่างแนวเขามีช่องทางติดต่อกับพม่าได้ ที่สำคัญคือ ด่านแม่ละเมาในจังหวัดตาก และด่านพระเจดีย์สามองค์ ในจังหวัดกาญจนบุรี
ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคตะวันตก
ที่ตั้งและขอบเขตของภาค
ทิศเหนือ มีดินแดนเหนือสุดของภาคอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก มีดินแดนติดต่อกับสุพรรณบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม อ่าวไทย
ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคืออำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันตก มีดินแดนติดกับประเทศพม่า มีเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคอยู่ที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันตก
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับหุบเขาที่ค่อนข้างชันและแคบกว่าหุบเขาของภาคเหนือ เนื่องจากการกัดเซาะของแม่น้ำลำธาร มีภูมิประเทศคล้ายภาคเหนือ แบ่งได้ดังนี้
1. เขตเทือกเขา ได้แก่
- เทือกเขาถนนธงชัย เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงตาก
- เทือกเขาตะนาวศรี เป็นแนวแบ่งเขตไทยกับพม่า มีช่องทางติดต่อที่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด่านบ้องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี
- เทือกเขาหินปูน อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำหินงอกหินย้อย
2. เขตที่ราบ อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบต่ำภาคกลางจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำแม่กลอง ที่ราบแม่น้ำเพชรบุรี และที่ราบชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายสวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหังหินและอ่าวมะนาว
แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันตก
- แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม
- แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์ มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย
- แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่
- แม่น้ำเมย เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทย-พม่า ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศพม่า ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ที่แม่ฮ่องสอน
- แม่น้ำเพชรบุรี เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี
- แม่น้ำปราณบุรี ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิภาคตะวันตก
1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น
2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน
3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี
4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง
ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันตก
1. ทรัพยากรดิน
ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด
2. ทรัพยากรน้ำ
ภาคตะวันตกมีน้ำน้อย เพราะอยู่ในเขตอับฝน แม่น้ำเป็นสายสั้น ๆ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก , เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี
3. ทรัพยากรป่าไม้
ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
ภาคตะวันตกมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต หินอ่อน แร่รัตนชาติมีพลอย ไพลินที่กาญจนบุรี หินน้ำมัน อยู่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ประชากรในภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกเป็นภาคที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด และเบาบางที่สุด มีชนกลุ่มน้อยพวกมอญ กะเหรี่ยง พม่าอาศัยอยู่ทุกพื้นที่เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นมากที่สุดคือ ราชบุรี ส่วนจังหวัดที่มีประชากรต่ำที่สุดและมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือ จังหวัดตาก
ปัญหาประชากรในภาคตะวันตก
1. ปัญหาเกี่ยวกับความยากจนของประชาชน
2. ปัญหาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยขาดแคลนที่อยู่อาศัยและขาดพื้นที่การเพาะปลูก
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
1. การเพาะปลูก การปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย สับปะรด มันสำปะหลัง ปลูกมากที่จังหวัดกาญจนบุรี
2. การเลี้ยงสัตว์ เป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นการค้าและอาหาร
3. การทำป่าไม้ เคยมีป่าไม้มาก ปัจจุบันทำการค้าโดยสั่งซื้อจากประเทศพม่า
4. การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มและน้ำกร่อย
5. การทำเหมืองแร่ ได้แก่ แร่ดีบุก วุลแฟรม ทังสเตน
6. อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง ผลิตน้ำตาล การปั้นโอ่งที่ราชบุรี และการท่อง เที่ยว
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
1. ปัญหาการพังทลายของดิน และดินเสื่อมคุณภาพ
2. ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และน้ำเน่าเสียในแม่น้ำแม่กลอง
3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำการค้า และธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น