วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป

          ประเทศไทยอยู่ในทวีปเอเชียตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิประเทศ ที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละภาค ซึ่งประกอบด้วย  ที่ราบ ที่ราบสูง ภูเขา ชายฝั่งทะเล เกาะ อ่าว แหลม เป็นต้น เนื่องจากที่ตั้งตามละติจูดอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางเหนือไม่เกินเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ จึงทำให้ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนอุณหภูมิสูงตลอดปี  และประเทศไทยได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งจะนำความหนาวเย็นและแห้งแล้งสู่ภูมิภาค ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพาฝนมาตกจึงทำให้ประเทศไทย มีพืชพรรณธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ประเทศไทยยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรต่าง ๆ มากมาย จึงทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่แห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

1.  ทำเลที่ตั้ง     *  ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน หรือ แหลมทอง(ดินแดนสุวรรณภูมิ)
     *  ตั้งอยู่ซีกโลกเหนือ ละติจูดที่ 5 องศาเหนือ - 20 องศาเหนือ
     *  ตั้งอยู่ซีกโลกตะวันออก ลองจิจูดที่ 97 องศาตะวันออก - 105 องศาตะวันออก

2.  ขนาด      *  ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร
     *  ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและพม่า
     *  มีพื้นที่ใกล้เคียงกับฝรั่งเศสและสเปนในยุโรป
     *  ความยาวของประเทศวัดจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย - อ.เบตง จ.ยะลา 1,620 กิโลเมตร

     *  ความกว้างของประเทศ วัดจากด่านเจดีย์สามองค์ อ. สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี - อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี 780 กิโลเมตร
     *  ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรอินโดจีน คือ บริเวณที่เรียกว่า
คอคอดกระ  จังหวัดระนอง
     *  วิเคราะห์ขนาด ประเทศไทยมีขนาดปานกลาง ไม่ใหญ่เกินไป ทำให้ดูแลประเทศทั่วถึงได้จากรัฐบาลที่เมืองหลวง

3.  รูปร่าง     *  มีรูปร่างคล้ายขวาน หัวช้าง กระบวยตักน้ำ ช่อดอกไม้
     *  ตอนบนกว้าง ตอนล่างยาวเรียวลงมามาก
     *  รูปร่างยาวมากกว่ากว้าง
     *  วิเคราะห์รูปร่าง
          1) เมื่อมีรูปร่างยาว กินพื้นที่หลายละติจูดทำให้
                
* มีความหลากหลายด้านภูมิอากาศ คือ ร้อนแต่ร้อนหลายแบบ  ตั้งแต่ร้อนชื้นไปสู่ร้อนชื้นสลับแล้งและเย็น
                * ภูมิอากาศหลากหลาย  พืชพรรณธรรมชาติก็หลากหลาย ตั้งแต่ป่าดงดิบ จนถึงป่าเบญจพรรณ
                * ความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันในเวลาเดียวกัน ตามพื้นที่ต่าง ๆ พืชผลไม้ผลิตดอกออกผลไม่ตรงกัน มีผลไม้ตลอดปี
         2) กว้างไม่มาก  กินพื้นที่น้อยลองจิจูด ทำให้
                *  กำหนดเวลามาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยใช้เส้นลองจิจูดที่ 105 องศาตะวันออก เป็นเส้นเวลามาตรฐานของประเทศไทย
         3)  ด้านล่างมีลักษณะยาวลงไป กระทบต่อการป้องกันประเทศ

4.  อาณาเขต
จุดเหนือสุด
อ.แม่สาย จ.เชียงราย
ติดประเทศพม่าและลาว
จุดใต้สุด  
อ.เบตง จ.ยะลา
ติดประเทศมาเลเซีย
จุดตะวันตกสุด
อ.สังขละบุรี
จ.กาญจนบุรี
ติดประเทศพม่า
จุดตะวันออกสุด
อ.สิรินธร
จ.อุบลราชธานี
ติดประเทศลาวและกัมพูชา

ที่ตั้งสัมพันธ์
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับพม่า และลาว
  • ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับลาว โดยมีเทือกเขาหลวงพระบาง และเพชรบูรณ์บางส่วนเป็นแนวพรมแดน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับพม่า โดยมีแม่น้ำเมย และส่วนหนึ่งของแม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำคง) เป็นแนวแบ่งพรมแดน
 ลักษณะภูมิประเทศ

       ลักษณะภูมิประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของประเทศไทย คือ ภูเขาสูง ที่ราบลุ่มตอนกลาง และที่ราบสูง ภาคเหนือของไทยมีภูเขาทอดผ่านเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ชายแดนพม่าผ่านคอคอดกระและคาบสมุทรมลายู ที่ราบตอนกลางเป็นพื้นที่ลุ่มซึ่งระบายน้ำโดยแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสาย ย่อย ทั้งนี้ แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นระบบแม่น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยไหล่ผ่านไปสู่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งอยู่ที่หัวอ่าวกรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่กว่าหนึ่งในสามของประเทศ ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเป็นที่ราบสูงโคราช พื้นที่มีเนินลาดและทะเลสาบตื้นเขิน มีแม่น้ำมูลไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำโขง ซึ่งไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ โดยมีคลองและเขื่อนเป็นจำนวนมาก
แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงถือได้ว่าค้ำจุนเศรษฐกิจเกษตรกรรมของไทย โดยเป็นพื้นที่ปลูกข้าวและเป็นทางน้ำสำหรับขนส่งสินค้าและผู้คน ในทางกลับกัน ลักษณะทางธรรมชาติของคาบสมุทรในทางภาคใต้ คือ ชายฝั่งทะเลที่ยาว เกาะนอกฝั่ง และบึงพรรณไม้ป่าชายเลนที่กำลังลดจำนวนลง













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น