ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [North-East] หรือ ภาคอีสาน [Isan] เป็นเขตพื้นที่ราบสูงลักษณะกว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทยทั้งหมด ในพื้นที่ของภาคอีสานนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจและน่าศึกษามากมาย ไม่ว่าจะเป็น หินและแร่ที่มีอายุนับหลายร้อยปี รวมไปถึงวัตถุที่มนุษย์ในยุคหินประดิษฐ์ขึ้นมา อีกทั้งยังมีวัดและปราสาทสำคัญต่างๆ มากมายในยุคอาณาจักรขอมโบราณ ที่ถือเป็นมรดกอันล้ำค่า นอกจากนี้ ภาคอีสานมีอุทยานแห่งชาติที่เป็นที่รู้จักกันดี ติด 3 อันดับในประเทศไทย นั่นก็คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง และ อุทยานแห่งชาติภูเรือ ใน ปีที่ผ่านๆ มา ดินแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางท่องเที่ยวผจญภัยสำหรับนักท่องเที่ยวที่ ต้องการหาประสบการณ์แปลกใหม่ สำหรับการเดินทางมายังจังหวัดในภาคอีสาน สายการบินภายในประเทศได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเที่ยวบินไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสานมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน ในด้านสถานที่พัก มีโรงแรมหรูหรามากมายให้ได้เลือกใช้บริการ โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ๆ อาทิเช่น ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา และ อุบลราชธานี
1. ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็น
ที่ราบสูง รูปร่างคล้ายกระทะหงาย มีขอบทางด้านตะวันตกและด้านใต้ลาดลงทางด้านตะวันออก เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของภาคเป็นแอ่ง เรียกว่าแอ่งโคราช
![]() |
เทือกเขาเพชรบูรณ์ |
1.2 ทิวเขาด้านทิศใต้ เป็นแนวทิวเขาหินทรายที่มีด้านลาดอยู่ในประเทศไทยและมีด้านชันไปในกัมพูชา
ทางทิศใต้ ภูมิสัณฐานหลักเป็น “เขารูปอีโต้หรือเกวสตา”
คล้ายกับ”เขาอีโต้” ที่จังหวัดปราจีนบุรี สภาพของเขา
![]() |
เขาค้อ จังหวัดเพรชบูรณื ส่วนหนึ่งของเทือกเขาเพรชบูรณ์ |
ที่ทอดแนวตลอดจะมีช่องแคบที่สามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ดังนั้น พื้นที่บริเวณนี้ผู้คนของทั้งสองประเทศจะมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจำพวกอาหาร ของป่า และไม้ซุงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังปรากฏหินภูเขาไฟเกือบตลอดแนวจึงทำให้
บริเวณดังกล่าวมีสภาพดินที่เหมาะต่อกรปลูกพืชและผลไม้ต่างๆ เช่น ที่อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีที่เริ่มมีการปลูกยางพารา เงาะ ทุเรียน ซึ่งได้ผลผลิตดีไม่ต่างจากจังหวัดในภาคตะวันออก
1.3 แอ่งโคราช ประกอบด้วยที่ราบลุ่มน้ำชี-มูล บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดของไทย และเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานที่มีประชากรเกิน 1 ล้านคนในเกือบทุกจังหวัด โดยสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม ในช่วงฤดูฝนที่มีพายุจึงเกิดน้ำท่วมขึ้นเสมอ แต่เมื่อสิ้นฤดูฝนไปสภาพการขาดแคลนน้ำจะปรากฏเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพพ้นที่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ และไม่มีพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ และบางพื้นที่เป็นดินเค็มมีคราบเกลือสินเธาว์ขึ้นมาตกผลึก
1.4 แอ่งสกลนคร ประกอบด้วยที่ราบลุ่มน้ำสงคราม หนองหาน และลุ่มน้ำโขงอีสานสกลนคร โดยพื้นที่บริเวณหนองหานสกลนครเป็นแอ่งต่ำที่เกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดิน เนื่องจากโครงสร้างของเกลือและหินละลาย
ด้านทิศใต้ของแอ่งสกลนครมีทิวเขาภูพานทอดแนวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณพื้นที่เนินและภูเขาที่กระจายอยู่ทั่วไปเป็นส่วนที่เหลืออยู่จากการกร่อน เช่น ภูผาเทิบ ที่อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นต้น
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhMG_0y7UqcEELNYIKzCrQOZhpLyFQL5_A7_o3hqd6ySaK5ZMPCT7WT1D2bKTVC5GkB8CHCORqqag9opX4jSbo-p2GGC8bdkjKbg00MOfIUjzK1BJ2DM89mvyuM0aqG8hcFJX0KvjbUZnA/s400/desti-map.gif)
ขอบคุณข้อมูลจาก วรรณา ไชยศรี http://www.learners.in.th/blogs/posts/518599
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น