วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย

ลักษณะทั่วไป


 

  รูปภาพจาก http://travel.sanook.com/foreign/foreign6.php
เอเชีย (Asia) มาจากคำว่า  อาซู (Asu) ในภาษาอัสซีเรียน แปลว่า ดินแดนแห่งดวงตะวันขึ้น (ตะวันออก) ใช้เรียกดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของอาณาจักรอัสซีเรียนมาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน เอเชียได้ชื่อว่าเป็นทวีปแห่งความแตกต่างหรือทวีปแห่งความตรงข้าม (a continent of contrast) หรือ ทวีปแห่งความเป็นที่สุด(a continent of extremes)มียอดเขาเอเวอเรสต์ในเทือกเขาหิมาลัยสูงที่สุดในโลก สูง 8,848 เมตร (2,928 ฟุต) มีพื้นแผ่นดินที่ต่ำที่สุด คือ ทะเลเดดซี อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 400 เมตร (1,312 ฟุต)  และเหวทะเลมาเรียนาซึ่งลึกที่สุดในโลก มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ได้แก่ตอนเหนือของไซบีเรีย  มีอากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุดจนเป็นทะเลทรายที่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และมีฝนตกชุกที่สุดในแคว้นอัสสัมของอินเดีย นอกจากนี้ยังเป็นทวีปที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตชนบท และมีความหนาแน่นมากกว่าทุกทวีป ขณะที่เขตทะเลทรายในเขตเอเชียแทบไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย  ความเป็นอยู่ของประชากรก็มีความแตกต่างกันมากตั้งแต่ฐานะดีจนถึงยากจนแร้นแค้น เอเชียจึงได้ชื่อว่าเป็นทวีปแห่งความแตกต่าง
ที่ตั้งและอาณาเขตของทวีปเอเชีย   



          ทิศเหนือ  ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก ในทะเลาคารา ทะเลลัฟเตฟ และทะเลไซีบีเรียตะวันออก    จุดเหนือสุด คือแหลมชิลยูสกิน ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ที่ละติดจูด 77 องศา  45  ลิปดาเหนือ  มีเกาะขนาดใหญ่ทางตอนเหนือได้แก่  เกาะเซเวอร์นายาเซมลีอา หมู่เกาะนิวไซบีเรีย  และเกาะแรงเจล
          ทิศตะวันออก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิค ในเขตทะเลเบริง ทะเลโอคอต ทะเลญี่ปุ่น ทะเลเหลือง ทะเลจีน
ตะวันออก และทะเลจีนใต้ โดยมีคาบสมุทรเบรอง คาบสมุทรคามชัตกา และคาบสมุทรเกาหลี เป็นส่วนของแผ่นดินด้านนี้ จุดตะวันออกสุดอยู่ที่ อีสต์เคป  ประเทศรัสเซีย ที่ลองติจูด
169 องศา 40 ลิปดาตะวันตก  เกาะใหญ่ได้แก่ เกาะแซคาลิน เกาะฮอนชู เกาะฮอกไกโด และเกาะชิโกกุ เกาะคิวชู เกาะไต้หวัน และเกาะลูซอน  ละติจูดที่   1 องศา 16 ลิปดาเหนือ - 37 องศา 41 ลิปดาเหนือ
          ทิศใต้   ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย น่านน้ำทางตอนใต้ ได้แก่ อ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ อ่าวเปอร์เซีย และอ่าวเอเดน จุดใต้สุดของภาคพื้นทวีปอยู่ที่ แหลมปิไอ ประเทศมาเลเซีย ที่ละติจูด 1 องศา 15 ลิปดา ซึ่งอยู่ห่างเส้นศูนย์สูตรประมาณ 150 .. เกาะใหญ่ทางทิศใต้ของทวีปเอเชียได้แก่ เกาะลังกา เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา เกาะชวา ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ใต้สุด บริเวณละติจูดที่ 8 องศาใต้
          ทิศตะวันตก     ติดต่อกับทะเลแดง  คลองสุเอช ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ เทือกเขาคอเคซัส ทะเลแคสเปียน และเทือกเขาอูราล จุดตะวันตกสุด อยู่ที่ แหลมบาบา ประเทศตุรกี ที่ลองติจูด26 องศา
40
ลิปดาตะวันออก เกาะใหญ่ได้แก่ เกาะไซปรัส


 การแบ่งภูมิภาคของทวีปเอเชีย



แผนที่ : เอเชีย United Nations geographic classification scheme



http://202.143.128.66/~aanuza/krupannee/m1/asia4.gif
ขอบคุณข้อมูลจาก  ครูพรรณี วงศ์ประสิทธิ์                   โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม จังหวัดพะเยา





ข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น