วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ห้องรับแขก

สวัสดีชาวโลก
      เรากำลังเข้าสู่โลกความรู้และความบันเทิง จากครูเรืองนะคะ...........................

ภาคกลาง

       ภาคกลางประกอบด้วยพื้นที่ของ 22 จังหวัด ได้แก่ 1.สุโขทัย 2.พิษณุโลก 3.กำแพงเพชร 4.พิจิตร 5.เพชรบูรณ์(ภาคกลางตอนบน)
6.
นครสวรรค์ 7.อุทัยธานี 8.ชัยนาท 9.ลพบุรี 10.สิงห์บุรี 11.อ่างทอง 12.สระบุรี 13.สุพรรณบุรี
14.พระนครศรีอยุธยา 15.นครนายก 16.ปทุมธานี 17.นนทบุรี 18.นครปฐม 19.กรุงเทพมหานคร 20.สมุทรปราการ 21.สมุทรสาคร 22.สมุทรสงคราม
เป็นภาคที่มีเนื้อที่มากเป็นอันดับ  3  ของประเทศ  รองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

ที่ตั้ง
ที่ตั้งของภาคกลางมีอาณาเขตติดต่อกับภูมิภาคอื่น  ดังนี้
    ทิศเหนือ
    ติดต่อกับภาคเหนือ  ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคกลาง  คือ  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย
    ทิศตะวันออก
    ติดต่อกับภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคกลาง  คือ  เทือกเขาเพชรบูรณ์ 1 ในเขตตำบลน้ำหนาว  อำเภอน้ำหนาว  จังหวัดเพชรบูรณ์
    ทิศใต้
    ติดต่อกับอ่าวไทย  ดินแดนที่อยู่ทางใต้สุดของภาคกลาง  คือ  อำเภออัมพวา  จังหวัดสมุทรสงคราม
    ทิศตะวันตก
    ติดต่อกับภาคตะวันตก  ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคกลาง  คือ  อำเภอคลองลาน  จังหวัดกำแพงเพชร



ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบดินตะกอนที่ลำน้ำพัดมาทับถม ในบริเวณที่ราบนี้มีภูเขาโดดๆซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขา
หินปูนกระจาย อยู่ทั่วไป ภูมิประเทศตอนบนของภาคกลางเป็นที่ราบลูกฟูกคือเป็นที่สูงๆต่ำๆและมีภูเขาที่มีแนวต่อเนื่องจาก
ภาคเหนือ เข้ามาถึงพื้นที่บางส่วนของจังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ส่วนพื้นที่ตอนล่างของภาคกลางนั้นเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน นอกจากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ตอนล่างของภาคกลางยังมีแม่น้ำไหลผ่านอีก หลายสาย ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำนครนายก เขตนี้เป็นที่ราบกว้างขวางซึ่งเกิดจากดินตะกอน หรือดิน เหนียวที่แม่น้ำพัดพามาทับถมเป็นเวลานาน จึงเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก และเป็นเขตที่มีประชากรเยอะที่สุด ในประเทศไทย ฉะนั้นภาคกลางจึงได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของไทย




 ลักษณะภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ
เมื่อพิจารณาตามลักษณะโครงสร้าง บริเวณภาคกลางสามารถแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ
1. ภาคกลางตอนบน ได้แก่ บริเวณตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไปทางตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย รวมทั้งบางบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศโดยทั่วไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (rolling plains) ซึ่งเกิดจากการกระทำของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขา ภูมิประเทศที่เป็นลูกฟูกนั้นอาจเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน กรวด ทรายที่มีขนาดใหญ่และตกตะกอน ก่อนทับถมพอกพูน ถ้าหากเทียบกับดินตะกอนแล้ว ชนิดแรกสามารถต้านทานต่อการสึกกร่อนได้มากกว่าชนิดหลัง ทำให้กลายเป็นภูมิประเทศคล้ายลูกคลื่น มีลูกเนินเตี้ย ๆ สลับกับบริเวณที่ง่ายแก่การสึกกร่อน ซึ่งกลายเป็นร่องลึกมีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูก นอกจากนี้การกระทำของแม่น้ำยังทำให้เกิดที่ราบขั้นบันได (terraces) ที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ของแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน อีกด้วย ภูมิประเทศทางด้านตะวันออกของเขตนี้เป็นภูเขาและทิวเขาจรดขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวทิวเขาดังกล่าว ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 ซึ่งต่อเนื่องมาจากทิวเขาหลวงพระบาง ระหว่างทิวเขาเพชรบูรณ์ 1 กับทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 มีที่ราบแคบ ๆ ในเขตอำเภอหล่มสักและจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ราบนี้มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านลงไปทางใต้ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 นี้ส่วนใหญ่เป็นหินแอนดีไซต์ หินไดโอไรต์ยุคเทอร์เชียรี ทางด้านตะวันตกของทิวเขาสูงนี้เป็นที่ราบเชิงเขาสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ไปจนจรดที่ราบลุ่มแม่น้ำ
2. ภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบลุ่มซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครสวรรค์ลงไปจนจรดอ่าวไทย ภูมิประเทศภาคกลางตอนล่างบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกงพัดพามา แม่น้ำเหล่านี้เมื่อไหลผ่านบริเวณที่เป็นที่ราบ ความเร็วของกระแสน้ำจะลดลง วัตถุต่าง ๆ ที่ละลายปนมากับน้ำจะตกตะกอนทับถมพอกพูน ซึ่งตะกอนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทรายละเอียด ดินเหนียว และดินตะกอน บางส่วนไปตกตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตะกอนที่ทับถมห่างจากชายฝั่งออกไปไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลเมตร และยังก่อให้เกิดสันดอนในแม่น้ำ ทำให้เกิดอุปสรรคในการคมนาคมทางน้ำเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามามีประโยชน์ในการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของประเทศ ทั้งนี้เพราะดินตะกอนสามารถอุ้มน้ำได้ ความหนาของชั้นดินตะกอนในบางบริเวณที่มีการขุดเจาะเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าบางแห่งหนาเกิน 120 เมตร จึงจะถึงหินดินดาน (dedrock) ข้างใต้
3. บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain) ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของจังหวัดสระบุรีและลพบุรี ซึ่งลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่ลุ่มแม่น้ำในทางธรณีสัณฐานวิทยา ทั้งนี้เพราะหินที่สึกกร่อนกลายเป็นดินรวมทั้งน้ำเป็นตัวการทำให้เศษดิน เศษหิน เหล่านี้มาทับถมในบริเวณเชิงเขา และส่วนที่ต่อแนวของที่ราบลุ่มแม่น้ำเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเกิดพบว่าต่างกัน บริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะในเขตอำเภอโคกสำโรง เป็นที่ราบสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ซึ่งบริเวณนี้สึกกร่อนมาจากหินปูน (ชุดราชบุรี) หินชนวน และหินดินดาน ทำให้ดินมีสีเทาเข้มถึงดำ นอกจากนี้ในบางบริเวณยังมีหินอัคนีแทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ มีหินบะซอลต์และหินแอนดีไซต์ปนอยู่ด้วย บางแห่งมีแร่เหล็ก เช่น ที่เขาทับควาย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พื้นที่บริเวณขอบที่ราบทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และอื่น ๆ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

ภาคใต้

         ภาคใต้ของไทยตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ล้อมรอบด้วยทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตกและอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก ภาคใต้นี้มีสถานที่ท่องเที่ยว ที่สวยงามมากมาย รวมทั้งชายหาดที่ขาวละเอียด และเกาะน้อยใหญ่มากมายที่เรียงรายอยู่ทั้งสองด้าน และยังมีอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าอีกหลายแห่ง อีกทั้งภูเขา น้ำตก และโบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยวของภูมิภาคนี่ไม่ได้มีทั้งที่ตั้งอยู่บนบกเท่านั้น ทรัพยากรใต้น้ำเป็นแหล่งที่อยู่ อาศัยของปะการัง สัตว์ทะเลและภูมิทัศน์ยังเป็นที่น่าหลงใหลและเยี่ยมชมอีกด้วย ส่วนวัฒนธรรมประเพณีของภาคใต้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ภาคใต้ เป็นที่ท่องเที่ยวที่มีสเน่ห์

ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคใต้
        ภาคใต้มีพื้นที่ประมาณ 70,715 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 14 จังหวัด แบ่งออกเป็น
- ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
- ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล

ขอบเขตและที่ตั้ง
    ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร
    ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
    ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
    ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซียที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้
     ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล ลักษณะภูมิประเทศแบ่งได้ 2 เขต คือ
     1. เขตเทือกเขา     มีลักษณะการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เช่น
         - เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับพม่า
         - เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับมาเลเซีย
         - เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทางตะวันตกของภาค
         - เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางของภาค
     2. เขตที่ราบ      ที่ราบในภาคใต้มีลักษณะยาวขนานระหว่างภูเขาและชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ซึ่งทางตะวันออกเป็นชายฝั่งแบบยกตัว ส่วนชายฝั่งตะวันตกเป็นแบบยุบตัว

แม่น้ำที่สำคัญของภาค
       แม่น้ำของภาคใต้เป็นสายสั้น ๆ เนื่องจากมีพื้นที่น้อย และไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น แม่น้ำชุมพร แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี แม่น้ำสายบุรี 

ส่วนแม่น้ำโกลก เป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ส่วนแม่น้ำปากจั่น กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า และแม่น้ำตรังไหลลงสู่ทะเลอันดามัน
ลักษณะของชายฝั่งทะเลภาคใต้
       ภาคใต้มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 1,825 กิโลเมตร แบ่งเป็นชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกตั้งแต่ชุมพรถึงนราธิวาส ยาว 960 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกยาว 865 กิโลเมตร ซึ่งมีลักษณะดังนี้
         - ชายฝั่งด้านตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นหาดทรายกว้าง เป็นฝั่งทะเลที่มีการยกตัวของพื้นที่ มีสันทรายจงอย มี ลากูน ที่เกิดจากสันดอนที่ปิดกั้นทะเลสาบสงขลาจากทะเลภายนอก มีอ่าวขนาดใหญ่ เช่น อ่าวบ้านดอน อ่าวชุมพร อ่าวสวี เป็นต้น
        - ชายฝั่งด้านตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน) เป็นฝั่งทะเลจมตัว มีชายหาดเว้าแหว่งและเป็นหาดน้ำลึกมีป่าชายเลนขึ้นตามชายฝั่ง
และมี ชวากทะเล คือ การยุบจมบริเวณปากแม่น้ำขนาดกว้าง อ่าวที่สำคัญของฝั่งทะเลตะวันตก ได้แก่ อ่าวระนอง อ่าวพังงา อ่าวกระบี่ อ่าวกันตัง เป็นต้น


ลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้
        ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม (Am) คือมีฝนตกชุกสลับกับฤดูแล้งสั้น ๆ ภาคใต้ไม่มีฤดูหนาว เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ฝนตกชุกตลอดทั้งปี จังหวัดที่มีฝนตกชุกที่สุดคือ ระนอง และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยคือ สุราษฎร์ธานี

ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิของภาคใต้
   1. ลม เป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุมลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้มากที่สุด เนื่องจากภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทร ทำให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเต็มที่
   2. การวางตัวของภูเขา
      เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ฝั่งทะเลด้านตะวันตกทำให้ปะทะกับเทือกเขาตะนาวศรี ทำให้มีฝนตกหนักโดยเฉพาะจังหวัดระนอง ส่วนด้านหลังเขาเป็นเขตอับฝนจะอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สาเหตุของการเกิดฝนตกชุกในภาคใต้
     1. เกิดจากร่องลมมรสุมที่เคลื่อนจากทางเหนือเข้าสู่เส้นศูนย์สูตร ทำให้ฝนตกชุก
     2. เกิดจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ นำฝนมาตกทางทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้
     3. เกิดจากพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวอยู่ในทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วม

ทรัพยากรธรรมชาติของภาคใต้
     1. ทรัพยากรดิน
ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มต่ำ (พรุ) มีน้ำท่วมขังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ส่วนที่ราบลุ่มแม่น้ำใช้ปลูกข้าว และสวนผลไม้ ส่วนดินบริเวณที่สูงเป็นดินเหนียวหรือดินลูกรัง เหมาะในการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน
     2. ทรัพยากรน้ำ
ภาคใต้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี แต่มีปัญหาในการขาดแคลนน้ำเนื่องจากมีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากการขุดเจาะบ่อบาดาลและได้จากเขื่อนต่าง ๆ ได้แก่ เขื่อนคลองหลา จังหวัดสงขลา เขื่อนปัตตานี จังหวัดปัตตานี เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
     3. ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ในภาคใต้เป็นป่าดิบชื้นตามเทือกเขา และป่าชายเลน จังหวัดที่ป่าไม้มากสุดคือ สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นป่าแพะ ป่าโคก ขึ้นปะปนกับทุ่งหญ้าสะวันนา ไม้ที่สำคัญของภาคใต้ คือ ไม้เบญจพรรณและไม้จากป่าชายเลน
     4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
ภาคใต้มีแร่ธาตุหลายชนิด ดังนี้
     - แร่ดีบุก พบมากที่สุดในภาคใต้และของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นแร่ที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด
     - แร่พลวงพบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี , นครศรีธรรมราช
     - แร่ทังสเตน พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
     - ทองคำ พบที่อำเภอโม๊ะโต๊ะ จังหวัดนราธิวาสและที่ชุมพร
     - แร่ฟลูออไรด์ , ยิปซัม , ดินขาว พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
     - ถ่านหิน พบที่กระบี่และสุราษฎร์ธานี
     - น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พบที่อ่าวไทย    


ประชากรในภาคใต้
      ภาคใต้มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ จังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช จังหวัดที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดและมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือ ระนอง ส่วนจังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ ภูเก็ต


ปัญหาประชากรภาคใต้
     1. ปัญหาความมั่นคงของชาติ การก่อการร้ายตามเขตแนวชายแดน
     2. ปัญหาการล่วงล้ำน่านน้ำเพื่อทำการประมง
     3. ปัญหาสินค้าหนีภาษี
     4. ปัญหาคน 2 สัญชาติ


กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้
     1. การเพาะปลูก พืชสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประชากรในภาคใต้คือ การทำสวนยางพารา ปลูกมากที่จังหวัดสงขลา รองลงมาคือ ปาล์มน้ำมัน ปลูกมาที่จังหวัดกระบี่ มะพร้าวปลูกที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี กาแฟ ปลูกที่จังหวัดตรัง ส่วนผลไม้ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ปลูกได้แทบทุกจังหวัดของภาค
     2. การประมง ทำได้ทุกจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลา
     3. การทำเหมืองแร่ ภาคใต้มีการทำเหมืองแร่มากที่สุด และเป็นรายได้สำคัญของภาคใต้
     4. อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมพื้นบ้านที่นิยม เช่น การจักสานด้วยหวาย หญ้าลิเพา
     5. การค้าและบริการ มีการค้าขายแถบชายแดนไทยกับมาเลเซีย และมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามมากมาย


ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
1. ปัญหาดินพังทลายเนื่องจากฝนตกชุกและการทำเหมืองแร่
2. ปัญหาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
3. ปัญหาน้ำท่วม น้ำทะเลทะลักเข้าสู่สวนผลไม้
4. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า

http://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/24.html
สรุปภาคใต้
      ภาคใต้ประกอบด้วยพื้นที่ของ 14 จังหวัดได้แก่ 1.ชุมพร 2.สุราษฎ์ธานี 3.นครศรีธรรมราช 4.พัทลุง 5.สงขลา 6.ปัตตานี7.ยะลา 8.นราธิวาส 9.ระนอง 10.พังงา 11.กระบี่ 12.ภูเก็ต 13.ตรัง 14.สตูล

ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง


      ภูมิประเทศทั่วไปมีลักษณะเป็นคาบสมุทรยื่นไปในทะเล ทางตะวันตกของคาบสมุทรมีเทือกเขาภูเก็ตทอดตัวเลียบชายฝั่งไปจนถึงเกาะภูเก็ต ตอนกลางของภาคมีเทือกเขานครศรีธรรมราช ส่วนทางตอนใต้สุดของภาคใต้มีเทืกเขาสันกาลาคีรี วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก และเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างไทยกับมาเลเซียด้วย
      พื้นที่ทางชายฝั่งตะวันออกมีที่ราบมากกว่าชายฝั่งตะวันตก ได้แก่ ที่ราบในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
      ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้มีชายหาดเหมาะสำหรับเป็นที่ตากอากาศหลายแห่ง เช่น หาดสมิหลา จังหวัด สงขลาและหาดนราทัศน์ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น เกาะที่สำคัญทางด้านนี้ ได้แก่ เกาะสมุยและเกาะพะงัน
      ส่วนชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย มีเกาะที่สำคัญคือ เกาะภูเก็ต เกาะตะรุเตา เกาะยาวและเกาะลันตา นอกจากนี้ ในเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุงยังมี ทะเลสาปเปิด (Lagoon)เปิด(Lagoon)ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ทะเลสาบสงขลา มีความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20 กิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 974 ตารางกิโลเมตร ส่วนเหนือสุดของทะเลสาบเป็นแหล่งน้ำจืดเรียกว่าทะเลน้อยแต่ทางส่วนล่างน้ำของทะเลสาบจะเค็ม เพราะมีน่านน้ำติดความกับอ่าวไทย น้ำทะเลจึงไหลเข้ามาได้ ในทะเลสาบสงขลามีเกาะอยู่หลายเกาะ บางเกาะเป็นที่ทำรังของนกนางแอ่น บางเกาะเป็นที่อยู่ของเต่าทะเลนอกจากนี้ในทะเลสาบยังมี ปลา และกุ้งชุกชุมอีกด้วย
ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้มีลักษณะเว้าแหว่งมากกว่าด้านตะวันออก ทำให้มีทิวทัศน์ที่
สวยงามหลายแห่ง เช่น หาดนพรัตน์ธารา จังหวัดกระบี่ หมู่เกาะซิมิลัน จังหวัดพังงา ชายฝั่งตะวันตกของภาคใต้จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ
      แม่น้ำในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆไหลจากเทือกเขาลงสู่ทะเล ที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำโก-ลก
ซึ่งกั้นพรมแดนไทยกับมาเลเซียในจังหวัดนราธิวาส แม่น้ำกระบุรี ซึ่งกั้นพรมแดนไทยกับพม่าในเขต
จังหวัดระนอง แม่น้ำตาปี ในจังหวัดสุราษฎ์ธานี และแม่น้ำปัตตานี ในจังหวัดยะลาและปัตตานี

ประวัติศาสตร์

บริเวณภาคใต้ตอนบน เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรสองอาณาจักร ได้แก่

บริเวณภาคใต้ตอนล่าง เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรเดียว ได้แก่

เขื่อน

      เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ที่สำคัญ ได้แก่

การละเล่นและการแสดงของภาคใต้

มโนราห์

       มโนราห์ เรียกสั้นๆ ว่า โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย แต่เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้ว

หนังตะลุง

       หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญ



ภาคตะวันตก

ภาคตะวันตกของประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 53,679 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ 1.ตาก 2.กาญจนบุรี 3.ราชบุรี 4.เพชรบุรี 5.ประจวบคีรีขันธ์


         ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง ได้แก่ เมือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวภูเขาที่ซับซ้อน มีที่ราบแคบๆ ในเขตหุบเขาเป็นแห่งๆและมีที่ราบเชิงเขาต่อเนื่องกับที่ราบภาคกลางเทือกเขาเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดของ แม่น้ำแควน้อย (แม่น้ำไทรโยค)และแม่น้ำแควใหญ่(ศรีสวัสดิ์) ซึ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นแม่น้ำแม่กลอง
         ระหว่างแนวเขามีช่องทางติดต่อกับพม่าได้ ที่สำคัญคือ ด่านแม่ละเมาในจังหวัดตาก และด่านพระเจดีย์สามองค์ ในจังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคตะวันตก

    
ที่ตั้งและขอบเขตของภาค
     ทิศเหนือ มีดินแดนเหนือสุดของภาคอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
     ทิศตะวันออก มีดินแดนติดต่อกับสุพรรณบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม อ่าวไทย                  
                   ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคืออำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
     ทิศตะวันตก มีดินแดนติดกับประเทศพม่า มีเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ
     ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคอยู่ที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันตก
     ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับหุบเขาที่ค่อนข้างชันและแคบกว่าหุบเขาของภาคเหนือ เนื่องจากการกัดเซาะของแม่น้ำลำธาร มีภูมิประเทศคล้ายภาคเหนือ แบ่งได้ดังนี้
     1. เขตเทือกเขา ได้แก่
           - เทือกเขาถนนธงชัย เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงตาก
           - เทือกเขาตะนาวศรี เป็นแนวแบ่งเขตไทยกับพม่า มีช่องทางติดต่อที่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด่านบ้องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี
           - เทือกเขาหินปูน อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำหินงอกหินย้อย
     2. เขตที่ราบ อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบต่ำภาคกลางจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำแม่กลอง ที่ราบแม่น้ำเพชรบุรี และที่ราบชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายสวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหังหินและอ่าวมะนาว

แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันตก
       - แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม
       - แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์ มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย
       - แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่
       - แม่น้ำเมย เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทย-พม่า ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศพม่า ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ที่แม่ฮ่องสอน
       - แม่น้ำเพชรบุรี เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี
       - แม่น้ำปราณบุรี ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก
       ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิภาคตะวันตก
     1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น
     2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน
     3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี
     4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง

ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันตก
1. ทรัพยากรดิน
     ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด
2. ทรัพยากรน้ำ
     ภาคตะวันตกมีน้ำน้อย เพราะอยู่ในเขตอับฝน แม่น้ำเป็นสายสั้น ๆ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก , เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี
3. ทรัพยากรป่าไม้
     ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
ภาคตะวันตกมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต หินอ่อน แร่รัตนชาติมีพลอย ไพลินที่กาญจนบุรี หินน้ำมัน อยู่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ประชากรในภาคตะวันตก
       ภาคตะวันตกเป็นภาคที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด และเบาบางที่สุด มีชนกลุ่มน้อยพวกมอญ กะเหรี่ยง พม่าอาศัยอยู่ทุกพื้นที่เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นมากที่สุดคือ ราชบุรี ส่วนจังหวัดที่มีประชากรต่ำที่สุดและมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือ จังหวัดตาก

ปัญหาประชากรในภาคตะวันตก
     1. ปัญหาเกี่ยวกับความยากจนของประชาชน
     2. ปัญหาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยขาดแคลนที่อยู่อาศัยและขาดพื้นที่การเพาะปลูก

กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
     1. การเพาะปลูก การปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย สับปะรด มันสำปะหลัง ปลูกมากที่จังหวัดกาญจนบุรี
     2. การเลี้ยงสัตว์ เป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นการค้าและอาหาร
     3. การทำป่าไม้ เคยมีป่าไม้มาก ปัจจุบันทำการค้าโดยสั่งซื้อจากประเทศพม่า
     4. การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มและน้ำกร่อย
     5. การทำเหมืองแร่ ได้แก่ แร่ดีบุก วุลแฟรม ทังสเตน
     6. อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง ผลิตน้ำตาล การปั้นโอ่งที่ราชบุรี และการท่อง   เที่ยว

ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
     1. ปัญหาการพังทลายของดิน และดินเสื่อมคุณภาพ
     2. ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และน้ำเน่าเสียในแม่น้ำแม่กลอง
     3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำการค้า และธุรกิจ




วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป

          ประเทศไทยอยู่ในทวีปเอเชียตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิประเทศ ที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละภาค ซึ่งประกอบด้วย  ที่ราบ ที่ราบสูง ภูเขา ชายฝั่งทะเล เกาะ อ่าว แหลม เป็นต้น เนื่องจากที่ตั้งตามละติจูดอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางเหนือไม่เกินเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ จึงทำให้ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนอุณหภูมิสูงตลอดปี  และประเทศไทยได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งจะนำความหนาวเย็นและแห้งแล้งสู่ภูมิภาค ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพาฝนมาตกจึงทำให้ประเทศไทย มีพืชพรรณธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ประเทศไทยยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรต่าง ๆ มากมาย จึงทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่แห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

1.  ทำเลที่ตั้ง     *  ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน หรือ แหลมทอง(ดินแดนสุวรรณภูมิ)
     *  ตั้งอยู่ซีกโลกเหนือ ละติจูดที่ 5 องศาเหนือ - 20 องศาเหนือ
     *  ตั้งอยู่ซีกโลกตะวันออก ลองจิจูดที่ 97 องศาตะวันออก - 105 องศาตะวันออก

2.  ขนาด      *  ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร
     *  ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและพม่า
     *  มีพื้นที่ใกล้เคียงกับฝรั่งเศสและสเปนในยุโรป
     *  ความยาวของประเทศวัดจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย - อ.เบตง จ.ยะลา 1,620 กิโลเมตร

     *  ความกว้างของประเทศ วัดจากด่านเจดีย์สามองค์ อ. สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี - อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี 780 กิโลเมตร
     *  ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรอินโดจีน คือ บริเวณที่เรียกว่า
คอคอดกระ  จังหวัดระนอง
     *  วิเคราะห์ขนาด ประเทศไทยมีขนาดปานกลาง ไม่ใหญ่เกินไป ทำให้ดูแลประเทศทั่วถึงได้จากรัฐบาลที่เมืองหลวง

3.  รูปร่าง     *  มีรูปร่างคล้ายขวาน หัวช้าง กระบวยตักน้ำ ช่อดอกไม้
     *  ตอนบนกว้าง ตอนล่างยาวเรียวลงมามาก
     *  รูปร่างยาวมากกว่ากว้าง
     *  วิเคราะห์รูปร่าง
          1) เมื่อมีรูปร่างยาว กินพื้นที่หลายละติจูดทำให้
                
* มีความหลากหลายด้านภูมิอากาศ คือ ร้อนแต่ร้อนหลายแบบ  ตั้งแต่ร้อนชื้นไปสู่ร้อนชื้นสลับแล้งและเย็น
                * ภูมิอากาศหลากหลาย  พืชพรรณธรรมชาติก็หลากหลาย ตั้งแต่ป่าดงดิบ จนถึงป่าเบญจพรรณ
                * ความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันในเวลาเดียวกัน ตามพื้นที่ต่าง ๆ พืชผลไม้ผลิตดอกออกผลไม่ตรงกัน มีผลไม้ตลอดปี
         2) กว้างไม่มาก  กินพื้นที่น้อยลองจิจูด ทำให้
                *  กำหนดเวลามาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยใช้เส้นลองจิจูดที่ 105 องศาตะวันออก เป็นเส้นเวลามาตรฐานของประเทศไทย
         3)  ด้านล่างมีลักษณะยาวลงไป กระทบต่อการป้องกันประเทศ

4.  อาณาเขต
จุดเหนือสุด
อ.แม่สาย จ.เชียงราย
ติดประเทศพม่าและลาว
จุดใต้สุด  
อ.เบตง จ.ยะลา
ติดประเทศมาเลเซีย
จุดตะวันตกสุด
อ.สังขละบุรี
จ.กาญจนบุรี
ติดประเทศพม่า
จุดตะวันออกสุด
อ.สิรินธร
จ.อุบลราชธานี
ติดประเทศลาวและกัมพูชา

ที่ตั้งสัมพันธ์
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับพม่า และลาว
  • ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับลาว โดยมีเทือกเขาหลวงพระบาง และเพชรบูรณ์บางส่วนเป็นแนวพรมแดน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับพม่า โดยมีแม่น้ำเมย และส่วนหนึ่งของแม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำคง) เป็นแนวแบ่งพรมแดน
 ลักษณะภูมิประเทศ

       ลักษณะภูมิประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของประเทศไทย คือ ภูเขาสูง ที่ราบลุ่มตอนกลาง และที่ราบสูง ภาคเหนือของไทยมีภูเขาทอดผ่านเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ชายแดนพม่าผ่านคอคอดกระและคาบสมุทรมลายู ที่ราบตอนกลางเป็นพื้นที่ลุ่มซึ่งระบายน้ำโดยแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสาย ย่อย ทั้งนี้ แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นระบบแม่น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยไหล่ผ่านไปสู่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งอยู่ที่หัวอ่าวกรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่กว่าหนึ่งในสามของประเทศ ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเป็นที่ราบสูงโคราช พื้นที่มีเนินลาดและทะเลสาบตื้นเขิน มีแม่น้ำมูลไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำโขง ซึ่งไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ โดยมีคลองและเขื่อนเป็นจำนวนมาก
แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงถือได้ว่าค้ำจุนเศรษฐกิจเกษตรกรรมของไทย โดยเป็นพื้นที่ปลูกข้าวและเป็นทางน้ำสำหรับขนส่งสินค้าและผู้คน ในทางกลับกัน ลักษณะทางธรรมชาติของคาบสมุทรในทางภาคใต้ คือ ชายฝั่งทะเลที่ยาว เกาะนอกฝั่ง และบึงพรรณไม้ป่าชายเลนที่กำลังลดจำนวนลง